การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประเด็นความ
ยั่งยืนที่สำคัญ

บริษัทมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนการประเมิน ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของบริษัทดังนี้

กระบวนการและขั้นตอนการประเมิน ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

1. ระบุผู้มีบทบาทและความสำคัญต่อธุรกิจ (Stakeholder Identification)

2. การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Identification)

3. การจัดลำดับประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Prioritization)

4. การตรวจสอบความถูกต้อง (Validation)

5. การทบทวนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Review and Continuous Improvement)

1. กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Identification)

2. การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Identification)

กระบวนการระบุประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งตระหนักถึงความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับน้อย ระดับปานกลาง และระดับสูง โดยการระบุประเด็นจะถูกพิจารณาจากความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นด้านความยั่งยืนที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลกให้ความสำคัญ และแนวโน้มความยั่งยืนของโลกจากหน่วยงานชั้นนำด้านความยั่งยืนสากล อาทิ หลักการรายงานของ มาตรฐาน GRI (Reporting Principles)

การสร้างความสมดุลใน 3 มิติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง ​
  • การสร้างความสำเร็จให้กับผู้มีส่วนได้เสีย​
  • การบริหารคุณภาพในการบริการ​
  • การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าจ้าง และการขาดแคลนแรงงาน​
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาง​
  • การสร้างงาน / สร้างอาชีพ
  • การสร้างความร่วมมือกับชุมชน
  • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความมีเสถียรภาพของระบบเครือข่าย

  • ความปลอดภัยในข้อมูล

  • การพัฒนาศักยภาพความเป็นอัจฉริยะในการบริการ และการบริหารจัดการ
  • สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • การจัดการการใช้พลังงานและทรัพยากร​

3. การจัดลำดับประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Prioritization)

บริษัทฯ นำผลที่ได้จากกระบวนการระบุประเด็นสาระสำคัญ (Materiality Identification Process) มาพิจารณาและประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน จำนวน 12 ประเด็น โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งการประเมินสามารถแบ่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียได้เป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย
1.ระดับต่ำ 2.ระดับปานกลาง 3.ระดับสูง

ทั้งนี้ ในปี 2565 บริษัทได้มีการนำประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมาทบทวน และมีการสอบถามต่อผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า ฯลฯ และได้นำผลรายงานเสนออนุมัติต่อที่ประชุมคณะผู้บริหารระดับสูงแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ดังนี้

มิติเศรษฐกิจ (Economic Dimension)​

1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง

2. การสร้างความสำเร็จให้กับผู้มีส่วนได้เสีย

3. การบริหารคุณภาพในการบริการ

4. การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าจ้าง และการขาดแคลนแรงงาน

5. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

6. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความมีเสถียรภาพของระบบเครือข่าย

7. ความปลอดภัยของข้อมูล

มิติสังคม (Social Dimension)​

8. การพัฒนาศักยภาพความเป็นอัจฉริยะในการบริการ และการบริหารจัดการ

9. สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน

10. การสร้างงาน / สร้างอาชีพ

11. การสร้างความร่วมมือกับชุมชน

มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension)​

12. การจัดการการใช้พลังงานและทรัพยากร

บริษัทฯ ได้มีการประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ให้สอดคล้องกับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ขององค์การสหประชาชาติ ใน 3 เป้าหมาย ได้แก่

 

เป้าหมายที่ 3 ในเรื่อง สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 8 ในเรื่องการส่งเริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสม สำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 13 ในเรื่อง การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

 

ยกตัวอย่าง เช่น ในประเด็นสาระสำคัญข้อ 9 เรื่องสุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 ซึ่งประเด็นนี้ มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทั้งในด้านของรายได้ และค่าใช้จ่าย ของบริษัทฯหาก พนักงานไม่มีสุขภาวะอนามัยที่ดี โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 และขาดความปลอดภัยในการทำงาน บริษัทฯในฐานะที่ดำเนินธุรกิจรับจ้างให้บริการ จะไม่มีพนักงานทำงาน ทำให้สูญเสียรายได้ และมีรายจ่ายด้านการพนักงานในเรื่องค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายโอทีสำหรับพนักงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

บริษัทได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อตอบสนองในประเด็นสำคัญในข้อ 9 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในที่ทำงานเป็น 0 ได้แก่

  1. การจัดทำแผนฉุกเฉิน (BCP) กรณีเกิดโรคระบาด
  2. เพิ่มมาตรการด้านความความปลอดภัย
  3. ให้มีการรายงานด้านสุขภาวะและความปลอดภัยในที่ประชุมคณะผู้บริหาร

4. การตรวจสอบความถูกต้อง (Validation)

ตรวจสอบความถูกต้องของการประเมิน และการจัดลำดับความสำคัญ

นำข้อเสนอแนะ ความคาดหวัง และมุมมองต่าง ๆ ของผู้มีส่วนได้เสีย

นำเสนอผลการประเมินต่อคณะผู้บริหาร

ผู้บริหารพิจารณาอนุมัติและเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูล

5. การทบทวนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Review and Continuous Improvement)

1. ทบทวน
  • บริษัทฯ จัดให้มีการทบทวนกระบวนการจัดทำประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ และการเปิดเผยข้อมูลในรายงานอย่างต่อเนื่อง
  • ประเมินประเด็นความยั่งยืน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานขององค์กร
2. วางแผนและกำหนดกลยุทธ์

วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อประเด็นต่างๆ ผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

4. ประเมินผล
  • สรุปผลการดำเนินงานต่างๆ เปรียบเทียบกับแผนงาน
  • ปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรม และบริการใหม่ ๆ
3. ดำเนินการตามแผน​

บริษัทดำเนินการตามแผนที่วางไว้